Skip to main content

ภาพรวม

"ลำพูนเมืองเก่า เที่ยวเบา ๆ 3 วัน 2 คืน”
ออกเดินทางด้วยรถไฟจากสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ มุ่งหน้าสู่สถานีรถไฟลำพูน

เมื่อถึงลำพูน แนะนำให้เข้าที่พักก่อน แล้วออกไปเดินเล่นใกล้ ๆ ตัวเมือง หรือแวะไป อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมืองลำพูน พร้อมเดินเล่นสวนสาธารณะรอบ ๆ พักผ่อนแบบไม่เร่งรีบ

เริ่มต้นวันที่สองด้วยการไป วัดพระธาตุหริภุญชัย วัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีระกา ชมเจดีย์สีทองอร่าม และสถาปัตยกรรมล้านนาแบบดั้งเดิม
ต่อด้วยการแวะไป วัดจามเทวี (วัดกู่กุด) ที่ตั้งของเจดีย์โบราณทรงปราสาทแบบมอญ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี

ปิดท้ายทริปวันสุดท้าย ก่อนเดินทางกลับ โดยการแวะไป วัดพระยืน วัดเก่าแก่อีกแห่งของลำพูนที่มีพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ 4 องค์ อายุกว่า 1,000 ปี
บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะสำหรับเดินเล่น ถ่ายรูป และใช้เวลาทบทวนเรื่องราวที่ได้พบตลอดทริป
จากนั้นเดินทางกลับโดยรถไฟจากสถานีลำพูนโดยสวัสดิภาพ

Place list data
807
2654,806
2655
Bangkok Weather
Location:
18.59378, 99.02087
สถานีรถไฟลำพูน
Location:
18.59378, 99.02087
สถานีรถไฟลำพูน
Location:
18.59378, 99.02087
สถานีรถไฟลำพูน
Location:
18.59378, 99.02087
สถานีรถไฟลำพูน
Location:
18.59378, 99.02087
สถานีรถไฟลำพูน

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: เปิด 24 ช.ม.
จันทร์: เปิด 24 ช.ม.
อังคาร: เปิด 24 ช.ม.
พุธ: เปิด 24 ช.ม.
พฤหัส: เปิด 24 ช.ม.
ศุกร์: เปิด 24 ช.ม.
เสาร์: เปิด 24 ช.ม.
คำอธิบาย
อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ตำบลในเมือง บริเวณด้านหลังตลาดหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดลำพูนประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางทรงเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม เป็นนักรบที่มีความสามารถและกล้าหาญชาญชัย พระนางคือผู้นำพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาเผยแผ่ในดินแดนแถบนี้จนรุ่งเรื่องสืบมาจนถึงปัจจุบัน

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: 06:00-21:00
จันทร์: 06:00-21:00
อังคาร: 06:00-21:00
พุธ: 06:00-21:00
พฤหัส: 06:00-21:00
ศุกร์: 06:00-21:00
เสาร์: 06:00-21:00
คำอธิบาย
พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสัณฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: 08:00-19:00
จันทร์: 09:00-18:00
อังคาร: 09:00-18:00
พุธ: 09:00-18:00
พฤหัส: 09:00-18:00
ศุกร์: 09:00-18:00
เสาร์: 08:00-19:00
คำอธิบาย
วัดจามเทวี หรือเดิมชื่อ วัดกู่กุด ตั้งอยู่บนถนนจามเทวี หมู่ 5 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระสุวรรณจังโกฏเจดีย์ เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระนางจามเทวี วัดจามเทวี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2478

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: 06:00-18:00
จันทร์: 06:00-18:00
อังคาร: 06:00-18:00
พุธ: 06:00-18:00
พฤหัส: 06:00-18:00
ศุกร์: 06:00-18:00
เสาร์: 06:00-18:00
คำอธิบาย
วัดพระยืน เป็นวัดที่ในอดีตเคยรุ่งเรืองมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของเมืองหริภุญชัย ปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านพระยืน หมู่ที่ ๑ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีเนื้อที่ประมาณ ๒๙ ไร่ ๒ งาน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง ชื่อ “ วัดพระยืน ” เรียกตามปูชนียวัตถุสำคัญที่อยู่ในวัด คือพระยืน ( พระพุทธรูปยืน ) ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับพระยืนนี้ ได้มีการกล่าวไว้ในหนังสือตำนานหลายเล่ม อาทิ ในหนังสือ ตำนานมูลศาสนา ได้กล่าวถึงตอนที่พระญากือนาได้อาราธนานิมนต์พระสุมนเถระจากเมืองสุโขทัย เพื่อมาเชียงใหม่ โดยได้พักที่วัดพระยืน ในเมืองหริภุญชัย ราว พ . ศ . ๑๙๑๒ ซึ่งขณะนั้นได้มีพระยืน ๑ องค์อยู่ก่อนแล้ว แต่บริเวณนั้นเป็นป่า พระญากือนาจึงให้คนไปแผ้วถาง แล้วสร้างพระพุทธรูปยืนเพิ่มอีก ๓ องค์ โดยองค์หนึ่งให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก องค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ และอีกองค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศใต้ และสร้างมณฑปครอบพระพุทธรูปยืนทั้ง ๔ องค์นี้ไว้

รีวิว

ความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวนี้
No review available